เมนู

ปรารถนาด้วยใจของเธอผู้มีศีล จักสำเร็จ เพราะ
ความปรารถนานั้นบริสุทธิ์1
ดังนี้.
นัยอื่น อีก
สัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จได้ด้วยธรรมชาตินั้น เหตุนั้น ธรรมชาติ
นั้น จึงชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ คือธรรมชาติเป็นเหตุให้สำเร็จ.
คำว่า อิชฺฌนฺติ - ย่อมสำเร็จ มีคำอธิบายว่า สำเร็จ คือ
เจริญ คือ ย่อมถึงความโด่งดัง. วิธะ คือ อิทฺธิ - ฤทธิ์ นั่นแหละชื่อว่า
อิทธิวิธะ - แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ, อธิบายว่า อิทธิโกฏฐาสะ - ส่วนแห่งฤทธิ์
อิทธิวิกัปปะ - ฤทธิ์สำเร็จได้ต่าง ๆ. มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า อิทธิ-
วิธญาณ - ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ.

51. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณุทเทส


ว่าด้วย โสตธาตุวิสุทธิญาณ


คำว่า วิตกฺกวิปฺผารวเสน - ด้วยสามารถแห่งการแผ่วิตกไป
ความว่า ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปคือด้วยกำลังแห่งวิตกของตน ใน
สัททนิมิตในเวลาทำบริกรรมเพื่อให้แก่ทิพโสตธาตุ
1. สํ. สฬา. 18/584.

ก็ในคำว่า วิตกฺโก นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใด ย่อม
ตรึก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า วิตก อีกอย่างหนึ่งความตรึก
ชื่อว่า วิตก, มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า การพิจารณา. วิตกนี้นั้น-
มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ,
มีการประคองจิตไว้ในอารมณ์ เป็นกิจ.

จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวว่า พระโยคีบุคคลย่อมกระทำอารมณ์
ให้ถูกกระทบด้วยวิตก.
มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นปัจจุปัฏฐาน,
และท่านกล่าวว่า มีอารมณ์อันมีถึงซึ่งคลอง เป็น ปทัฏฐาน
เพราะเกิดขึ้นโดยอินทรีย์ที่มาประชุมพร้อมซึ่งอารมณ์นั้น และโดยไม่มี
อันตรายในอารมณ์อันแวดล้อมแล้ว.
คำว่า นานตฺเตกตฺตสทฺทนิมิตฺตานํ - ซึ่งเสียงเป็นนิมิต
หลายอย่างหรืออย่างเดียว
ความว่า ซึ่งเสียงเป็นนิมิตมีสภาวะต่าง ๆ
และมีสภาวะเดียว. ก็ในคำว่าสัททนิมิตนี้ สัททะคือเสียงนั่นแหละเป็น
นิมิต เพราะเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นแห่งวิตก และเพราะเป็นนิมิตแห่ง
สังขาร. เสียงที่กลมกล่อมเป็นอันเดียวกัน เช่นเสียงกลอง หรือหลาย
เสียงมากมาย, เสียงในทิศต่าง ๆ หรือเสียงสัตว์ต่าง ๆ ชื่อว่า นานัตต-
สัททา
- เสียงต่าง ๆ, เสียงในทิศเดียว, หรือเสียงสัตว์ตัวเดียว, หรือเสียง
แต่ละเสียงเช่นเสียงกลองเป็นต้น ชื่อว่า เอกัตตสัททา - เสียงเดียว.

ก็ในคำว่า สทฺโท นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใดย่อมแผ่ไป
ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สัททะ - เสียง, อธิบายว่า เสียงที่เปล่งว่า
ออก
คำว่า ปริโยคาหเณ ปญฺญา - ปัญญาในการกำหนด ความว่า
ปัญญาเป็นเครื่องเข้าถึง อธิบายว่า ปัญญาเป็นเครื่องรู้.
คำว่า โสตธาตุวิสุทฺธญญาณํ - ญาณในโสตธาตุอันบริสุทธิ์
ความว่า ชื่อว่า โสตธาตุ เพราะอรรถว่าได้ยิน และเพราะอรรถว่า
มิใช่ชีวะ, และชื่อว่าโสตธาตุเพราะปัญญาทำกิจดุจโสตธาตุด้วยสามารถ
แห่งการทำกิจของโสตธาตุ, ชื่อว่า วิสุทธิ เพราะโสตธาตุนั้นหมดจด
แล้ว เพราะปราศจากอุปกิเลส, โสตธาตุนั่นแหละบริสุทธิ์ ชื่อว่า
โสตธาตุวิสุทธิ, ญาณคือความรู้ในโสตธาตุวิสุทธินั่นแหละ ชื่อว่า
โสตธาตุวิสุทธิญาณ.

52. อรรถกถาเจโตปริยญาณุทเทส


ว่าด้วย เจโตปริยญาณ


คำว่า ติณฺณํ จิตฺตานํ - แห่งจิต 3 ดวง ความว่า แห่งจิต
3 ดวง คือ โสมนัสสสหคตจิต 1, โทมนัสสสหคตจิต 1, อุเปกขา
สหคตจิต 1.